Tag: mysql

Digitalocean VPS ดีๆ ของฟรีมีในโลก

สวัสดีเพื่อนๆ อีกครั้ง หลังจากงอแงไม่ยอมเขียนมานานมากๆ ช่วงนี้ก็ใกล้จะปีใหม่แล้ว ไปแต่ละที่ก็มีแต่แสงสีและความสุข ^^

สำหรับคนที่ต้องการจะสร้าง website สักเว็บหนึ่ง ตอนนี้ก็มีผู้ให้บริการอยู่หลายที่เลย ราคาตั้งแต่หลักร้อยต่อเดือนไปจนถึงหลักพัน แต่ยิ่งเว็ปไซต์ของเราโตขึ้นมากเท่าไหร่ เราก็ต้องการทรัพยากรจากเซิร์ฟเวอร์มากขึ้นเท่านั้น จนบางครั้งเราอาจถูกเชิญออกจากเซิร์ฟเวอร์โดยที่ไม่รู้ตัว ส่วนตัวก็เคยโดนมาแล้วจาก โฮสจรเข้

ทางออกของปัญหาก็มีอยู่ ซึ่งก็แล้วแต่งบประมาณในกระเป๋าของเรา ถ้างบไม่เยอะก็เช่า VPS เอา ถ้ายังไม่พอก็เช่าเป็น Dedicade ไปเลย แต่ถ้าอยากได้แรงสุดๆ อันนี้ก็ต้องซื้อเครื่องแล้วเอาไปตั้งเองเลย แต่ละแบบก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันไป

สำหรับ VPS ตอนนี้ก็น่าจะเป็นทางเลือกสำหรับคนที่มีงบน้อย ซึ่งผมก็ไปเจอของ digitalocean ที่ราคาแค่ 5USD / เดือน หรือ 0.007 / ชั้วโมง แถมเป็นแบบกลุ่มเมฆด้วย VPS ราคาถูก แบบนี้เหมาะที่จะเอาไว้ลองเล่น นอกจากนั้น ยังให้ใช้งานได้ฟรี 3 ชั่วโมงแรก ขั้นตอนการติดตั้งก็ไม่ยุ่งยากด้วย ของดีแบบนี้จะพลาดได้ยังไง แบบนี้ก็ต้องลองกันหน่อยละ Continue reading

PDO Connection Class

เขียนเมื่อ 2008-07-23 16:33:10 +0700

ปกติผมจะเขียนโปรแกรมติดต่อฐานข้อมูลโดยฝัง query string เข้าไปในโค๊ดเลย ซึ่งมันก็ง่าย แต่ยากตอนจะเปลี่ยนฐานข้อมูล ก็เลยเขียน class ขึ้นมาเอง แต่ก็ยังติดที่ต้องเขียน method สำหรับแต่ละฐานข้อมูลอยู่ดี ซึ่งฐานข้อมูลบางแบบ ผมไม่ค่อยได้ใช้ (pg sql) หรือไม่เคยใช้เลย (posix, odbc) แต่ก็จำเป็นต้องรู้ไว้บ้างว่าเขียนติดต่อยังไง

หลังจากมาเขียน PHP แบบ OO (แต่ก็ไม่เต็มรูปแบบ) ก็มีคนแนะนำว่า ทำไมไม่ลองใช้ PDO ล่ะ? แรกๆ ก็ไม่ได้สนใจ แต่พอมาจับงานที่ต้องเขียนให้ติดต่อทั้ง PG SQL, MySQL, SQLite แล้วเจอปัญหาเดิมอีก คือ เปลี่ยนฐานข้อมูลลำบาก จะไล่แก้โค๊ดให้หมด ก็บ้าไปแล้ว ก็เลยนึกถึุง PDO ขึ้นมา ลองเล่น ลองลูบ ลองคลำ มันอยู่ 2 อาทิตย์กว่าๆ ก็ได้ Class ส่วนตัวออกมา อิอิ สบายเลย จะเปลี่ยนฐานข้อมูล ก็แก้แค่ไฟล์คอนฟิก Continue reading

บทที่ 10 การติดต่อฐานข้อมูล MySQL

หลังจากบทที่แล้วเราติดตั้งฐานข้อมูล MySQL เสร็จเรียบร้อยแล้ว และทำให้ใช้งานร่วมกับ PHP ได้แล้ว ทีนี้เราจะเริ่มใช้งานมันได้ยังไง เดี๋ยวมาดูกันครับ

การติดต่อ MySQL จาก PHP จากที่เคยทำมามันก็มี 2 วิธีหลักๆ คือ ติดต่อโดยตรงโดยผ่าน Native Driver ที่มาพร้อมกับ PHP เลย กับอีกวิธีคือใช้ PDO (PHP Data Object) จริงๆ ผมไม่อยากเรียก PDO ว่าเป็น Native Driver เท่าไหร่ เพราะมันติดต่อฐานข้อมูลได้หลายแบบเหลือเกิน แต่ในเว๊ปของ MySQL บอกไว้แบบนั้นงะ

ลำดับการทำงานของทั้งสองขั้นตอนจะคล้ายๆ กันคือ

      สร้างการเชื่อมต่อกับ MySQL
      ติดต่อกับฐานข้อมูลที่จะใช้งาน
      ปิดการเชื่อมต่อกับ MySQL

ผมจะอธิบายรายละเอียดเฉพาะแบบแรกนะครับ ส่วนแบบที่สองจะให้ตัวอย่างแล้วอธิบายนิดหน่อย เพราะถ้าเข้าใจเรื่อง OOP แล้ว PDO มันไม่ยากเลย บางทีอ่านแค่ Class กับ Method ก็เอาไปใช้งานได้แหละ อีกอย่างเซิร์ฟเวอร์ที่เราเช่าบางทีไม่เปิดใช้งาน PDO ก็มี แอบเศร้าเลย Continue reading

บทที่ 9 ติดตั้ง MySQL

หลังจาก 8 บทแรกที่ผมเขียนไว้เมื่อชาติปางก่อน ผมก็ไม่ได้เขียนอะไรเกี่ยวกับ PHP อีกเลย รวมเวลาน่าจะเกินครึ่งปีแล้วล่ะ

ถ้าเราจะเขียน PHP หรือโปรแกรมอะไรก็แล้วแต่ การเก็บข้อมูลเป็นอะไรที่สำคัญพอๆ กับ logic ของโปรแกรมเลย ถ้าหากโปรแกรมสามารถประมวลผลได้อย่างดี ทำงานได้ตรงตามความต้องการทุกอย่าง แต่ถ้าหากเราต้องการเก็บผลลัพธ์ไว้ล่ะ เมื่อก่อนตอนที่ผมเขียน C++ บน DOS จนมาถึง perl และช่วงที่เขียน PHP ใหม่ๆ วิธีการเก็บข้อมูลที่ง่ายที่สุดคือ text file นี่แหละ ซึ่งมันก็ง่ายจริงๆ fopen, fclose ก็จบ ใช้เครื่องหมาย comma คั่นระหว่างข้อมูล (field) มันก็ทำงานได้ดีกับข้อมูลจำนวนไม่มากแต่ถ้าหากข้อมูลมีจำนวนมากขึ้นล่ะ จะเริ่มมีปัญหาขึ้นมาทันทีเลยทั้งเรื่องขนาดของไฟล์ที่เก็บ ความเร็ว และการเขียนข้อมูลพร้อมๆ กันในกรณีที่ใช้ไฟล์ร่วมกัน วิธีการแก้ปัญหาที่ง่ายที่สุดคือ เปลี่ยนไปใช้ฐานข้อมูลซะ

ฟังดูเหมือนง่าย แต่มันก็ง่ายจริงๆ ข้อดีของ PHP อย่างหนึ่งคือ มันสามารถติดต่อกับฐานข้อมูลได้หลายชนิดมากๆ หรือถ้าหากไม่รู้ว่าจะใช้ฐานข้อมูลอันไหน ก็เขียน PDO ไปเลย (อันนี้ค่อยคุยกันทีหลัง) สำหรับฐานข้อมูลที่นิยมสำหรับ PHP ก็คงหนีไม่พ้น MySQL

ข้อดีของ MySQL คือ มันฟรี แล้วสามารถใช้งานได้ในหลายๆ ระบบปฎิบัติการ (multi platform) แต่ข่าวร้่ายนิดๆ หลังจากโดนซื้อโดย SUN MySQL ที่ฟรีจะเหลือแค่ Community ซึ่งความสามารถอาจน้อยกว่าตัวที่ขายกัน แต่ก็ไม่ต้องห่วง แค่นี้ก็เพียงพอแล้วจริงๆ คือ ไม่ต้องไปสนใจมันหรอก อันไหนฟรีเราก็ใช้ไปเหอะ เนอะ Continue reading

บทที่ 0 ติดตั้งโปรแกรม

หลังจากได้ทำความรู้จักกับ PHP และสิ่งที่เราต้องมีกันแล้ว ขั้นต่อไปจะเป็นการติดตั้งโปรแกรมเพื่อจำลองให้เครื่องของเราเป็น Web Server เนื่องจากการทำงานของ PHP นั้น จะมีการประมวลผลที่ Server แล้วส่งผลลัพธ์เป็น HTML กลับมาให้ brower แสดงผล

สำหรับการติดตั้งนั้นจะมี 2 วิธีใหญ่ๆ คือ ติดตั้งเอง ทีละโปรแกรม และ ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่น AppServ ที่เป็นของคนไทยเอง

ข้อดีของการติดตั้งเอง คือเราสามารถทำการอัพเดทโปรแกรมแต่ละตัวได้ ในกรณีที่รุ่นใหม่ออกมา เนื่องจากโปรแกรมแต่ละตัว ทำงานแยกกัน ไม่ขึ้นต่อกัน ซึ่งผมก็ชอบวิธีนี้มากกว่า อาจจะยุ่งยาก มีหลายขั้นตอนไปนิด แต่ก็สะดวกเวลาปรับแต่งแต่ละโปรแกรม

ผมจะแบ่งขั้นตอนเป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ Continue reading