หลังจาก 8 บทแรกที่ผมเขียนไว้เมื่อชาติปางก่อน ผมก็ไม่ได้เขียนอะไรเกี่ยวกับ PHP อีกเลย รวมเวลาน่าจะเกินครึ่งปีแล้วล่ะ

ถ้าเราจะเขียน PHP หรือโปรแกรมอะไรก็แล้วแต่ การเก็บข้อมูลเป็นอะไรที่สำคัญพอๆ กับ logic ของโปรแกรมเลย ถ้าหากโปรแกรมสามารถประมวลผลได้อย่างดี ทำงานได้ตรงตามความต้องการทุกอย่าง แต่ถ้าหากเราต้องการเก็บผลลัพธ์ไว้ล่ะ เมื่อก่อนตอนที่ผมเขียน C++ บน DOS จนมาถึง perl และช่วงที่เขียน PHP ใหม่ๆ วิธีการเก็บข้อมูลที่ง่ายที่สุดคือ text file นี่แหละ ซึ่งมันก็ง่ายจริงๆ fopen, fclose ก็จบ ใช้เครื่องหมาย comma คั่นระหว่างข้อมูล (field) มันก็ทำงานได้ดีกับข้อมูลจำนวนไม่มากแต่ถ้าหากข้อมูลมีจำนวนมากขึ้นล่ะ จะเริ่มมีปัญหาขึ้นมาทันทีเลยทั้งเรื่องขนาดของไฟล์ที่เก็บ ความเร็ว และการเขียนข้อมูลพร้อมๆ กันในกรณีที่ใช้ไฟล์ร่วมกัน วิธีการแก้ปัญหาที่ง่ายที่สุดคือ เปลี่ยนไปใช้ฐานข้อมูลซะ

ฟังดูเหมือนง่าย แต่มันก็ง่ายจริงๆ ข้อดีของ PHP อย่างหนึ่งคือ มันสามารถติดต่อกับฐานข้อมูลได้หลายชนิดมากๆ หรือถ้าหากไม่รู้ว่าจะใช้ฐานข้อมูลอันไหน ก็เขียน PDO ไปเลย (อันนี้ค่อยคุยกันทีหลัง) สำหรับฐานข้อมูลที่นิยมสำหรับ PHP ก็คงหนีไม่พ้น MySQL

ข้อดีของ MySQL คือ มันฟรี แล้วสามารถใช้งานได้ในหลายๆ ระบบปฎิบัติการ (multi platform) แต่ข่าวร้่ายนิดๆ หลังจากโดนซื้อโดย SUN MySQL ที่ฟรีจะเหลือแค่ Community ซึ่งความสามารถอาจน้อยกว่าตัวที่ขายกัน แต่ก็ไม่ต้องห่วง แค่นี้ก็เพียงพอแล้วจริงๆ คือ ไม่ต้องไปสนใจมันหรอก อันไหนฟรีเราก็ใช้ไปเหอะ เนอะ

อันนี้แอบแทรกนิดหน่อย จริงๆ แล้วฐานข้อมูลที่ควรจะรู้อีกสองคือ SQLite กับ postgreSQL สองตัวนี้ก็ฟรีเหมือนกัน โดยเฉพาะ SQLite หากงานไม่ใหญ่มาก ผมแนะนำตัวนี้เลย สะดวก รวดเร็ว แถมประสิทธิภาพยังดีกว่าใช้ text file

วิธีการติดตั้ง MySQL (สำหรับท่านที่ลงแบบแยกเท่านั้นนะ

ก่อนอื่นเลยก็เข้าไปที่ www.mysql.com แล้วเลือกไปที่ download จากนั้นเลือก Windows MSI Installer ก่อนที่จะโหลดจำเป็นต้องลงทะเบียนก่อนอันนี้ไม่ยากเท่าไหร่ ทำไม่กี่ขั้นตอนก็เสร็จแล้วล่ะครับ

ในขั้นตอนการติดตั้งก็กด next ไปเรื่อยๆ ตามสไตล์การติดตั้งโปรแกรมของคนไทย (ที่ไม่ค่อยอ่านเท่าไหร่ ผมก็เป็นหนึ่งในนั้น)

หลังจากติดตั้งเสร็จให้ทำการตั้งค่า MySQL ทันที

ทำการเลือก standard configuration

ติดตั้ง MySQL ให้เป็น Service ตัวหนึ่งของ Windows เราจะได้ไม่ต้องสั่งให้ MySQL ทำงานทุกครั้งที่เริ่ม Windows ใหม่ แต่ถ้าหากเครื่องไม่แรงมาก และนานๆ ใช้ MySQL ก็เอาเครื่องหมาย ถูก หน้าช่อง Launch the MySQL automatically ออกไป แต่ก็ต้องมาสั่ง start ทุกครั้งที่จะใช้งาน MySQL

อย่าลืมกำหนดรหัสผ่านของ MySQL ด้วยนะครับ

เสร็จแล้ว….

หลังจากติดตั้ง MySQL เสร็จ เราจะยังไม่สามารถใช้งาน MySQL ร่วมกับ PHP ได้ทันทีต้องก๊อปปี้ไฟล์ libmysql.dll ที่อยู่ใน php ไปไว้ใน Windows/System32 ก่อน

แล้วก็ไปเปิดใช้งาน MySQL โดยแก้ไฟล์ php.ini ที่อยู่ใน directory php นำเครื่องหมาย ; หน้า extension=php_mysql.dll ออกไปซะ (จะเอา mysqli ออกด้วยก็ได้ไม่ผิดกติกา)

จากนั้นทำการ restart apache โดยกดปุ่มเขียวตรง task bar ด้านล่าง

แค่นี้ก็สามารถใช้งาน MySQL กับ PHP ได้แล้ว ทดลองตรวจสอบได้โดยรัน phpinfo()

Comments

จำนวนความเห็น