สวัสดีเพื่อนๆ อีกครั้ง หลังจากงอแงไม่ยอมเขียนมานานมากๆ ช่วงนี้ก็ใกล้จะปีใหม่แล้ว ไปแต่ละที่ก็มีแต่แสงสีและความสุข ^^

สำหรับคนที่ต้องการจะสร้าง website สักเว็บหนึ่ง ตอนนี้ก็มีผู้ให้บริการอยู่หลายที่เลย ราคาตั้งแต่หลักร้อยต่อเดือนไปจนถึงหลักพัน แต่ยิ่งเว็ปไซต์ของเราโตขึ้นมากเท่าไหร่ เราก็ต้องการทรัพยากรจากเซิร์ฟเวอร์มากขึ้นเท่านั้น จนบางครั้งเราอาจถูกเชิญออกจากเซิร์ฟเวอร์โดยที่ไม่รู้ตัว ส่วนตัวก็เคยโดนมาแล้วจาก โฮสจรเข้

ทางออกของปัญหาก็มีอยู่ ซึ่งก็แล้วแต่งบประมาณในกระเป๋าของเรา ถ้างบไม่เยอะก็เช่า VPS เอา ถ้ายังไม่พอก็เช่าเป็น Dedicade ไปเลย แต่ถ้าอยากได้แรงสุดๆ อันนี้ก็ต้องซื้อเครื่องแล้วเอาไปตั้งเองเลย แต่ละแบบก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันไป

สำหรับ VPS ตอนนี้ก็น่าจะเป็นทางเลือกสำหรับคนที่มีงบน้อย ซึ่งผมก็ไปเจอของ digitalocean ที่ราคาแค่ 5USD / เดือน หรือ 0.007 / ชั้วโมง แถมเป็นแบบกลุ่มเมฆด้วย VPS ราคาถูก แบบนี้เหมาะที่จะเอาไว้ลองเล่น นอกจากนั้น ยังให้ใช้งานได้ฟรี 3 ชั่วโมงแรก ขั้นตอนการติดตั้งก็ไม่ยุ่งยากด้วย ของดีแบบนี้จะพลาดได้ยังไง แบบนี้ก็ต้องลองกันหน่อยละ

ขั้นตอนแรกก็เข้าไปที่เว็บไซต์ www.digitalocean.com แล้วกรอก email กับ password ได้เลย

จากนั้นให้เราเลือกรูปแบบเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งแบบฟรีจะเลือกได้แค่ 1CPU RAM256MB และ Harddisk 20GB สถานที่ตั้งเซิร์ฟเวอร์ที่นิวยอร์คเท่านั้น แล้วให้เราเลือก OS ที่จะติดตั้ง ผมทดลองใช้ CentOS 6.3 แบบ 64bit จากนั้นคลิกที่ Create Droplet เลย

ต่อมาเปิดอีเมลแล้วจด IP, username และ password ที่ได้รับ

ต่อไปไปโหลดโปรแกรม putty ได้ที่ http://www.chiark.greenend.org.uk/~sgtatham/putty/download.html

หลังจากโหลดเสร็จแล้วเปิดโปรแกรม ใส่หมายเลข IP ที่ได้รับในช่อง Host Name แล้วกด Open

ใส่ username เป็น root รหัสผ่าน ตามที่ได้รับ ตอนที่พิมพ์รหัสจะไม่มีตัวอักษรขึ้นที่หน้าจอนะ อย่าตกใจ

แค่นี้เราก็เป็นเจ้าของ VPS ขนาดเล็กๆ ตัวหนึ่งแล้ว

แล้วเราจะทำอะไรกับมันดี?
ถ้าไม่รู้จะทำอะไรหลังจากได้มาแล้ว ก็มาลองทำ LAMP หรือ LEMP สิจะได้เอาไว้ลองของ ลองวิชา หรือลอง linux environment ขำๆ กันก็ได้

ลำดับการติดตั้งก็มี
1. ติดตั้ง Apache หรือถ้าจะใช้งานจริงจังก็ต้อง nginx
2. ติดตั้ง MySQL
3. ติดตั้ง PHP

ขั้นตอนแรก ติดตั้ง Apache ใช้คำสั่ง
sudo yum install httpd
แล้วรอให้ทำงานไปจนเสร็จ ตามภาพ

เปิดใช้งาน httpd ใช้คำสั่ง
sudo service httpd start

ถ้าได้ผลลัพท์ดังภาพก็ใช้งานได้แล้ว

ทดลองเปิด Browser แล้วพิมพ์ IP ที่ได้มา ถ้าขึ้นตามภาพแสดงว่า VPS ที่เราได้มา พร้อมจะเป็น web server แล้ว

ขั้นตอนที่สอง ติดตั้ง MySQL ใช้คำสั่ง
sudo yum install mysql-server

รอสักพักก็จะติดตั้งเสร็จตามภาพ

เปิดใช้งาน mysql ใช้คำสั่ง
sudo service mysqld start


ถ้าได้ผลตามภาพก็ใช้งานได้แล้ว

ทำการเปลี่ยนรหัสผ่านให้ MySQL ใช้คำสั่ง
sudo /usr/bin/mysql_secure_installation

ระบบจะถามรหัสผ่านของ CenOS
Enter current password for root (enter for none) :

จากนั้นเซ็ตรหัสผ่านให้ MySQL
ระบบจะถาม Set root password ให้พิมพ์ y
แล้วพิมพ์รหัสใหม่ของ MySQL 2 รอบ

ส่วนคำถามที่เหลือ คือ ลบ anonymous, ปิด remote access, ลบ test database และ reload ค่า ให้กด y ทั้งหมด

ขั้นตอนที่สาม ติดตั้ง php ใช้คำสั่ง
sudo yum install php php-mysql


รอสักพักก็เสร็จแล้ว

เซ็ตให้ apache และ mysql ทำงานทุกครั้งที่ restart เครื่อง ใช้คำสั่ง
sudo chkconfig httpd on
sudo chkconfig mysqld on

ทดลองสร้างไฟล์ php ขึ้นมาเก็บไว้ใน htdoc ใช้คำสั่ง
sudo nano /var/www/html/info.php

พิมพ์คำสั่ง
<?php
phpinfo();
?>

กด Ctrl-x แล้ว Enter เลย

Restart Apache ก่อนเพื่อให้ php ใช้งานได้ ใช้คำสั่ง
sudo service httpd restart


รอสักพักก็เสร็จละ

เปิด Browser พิมพ์ http://[ip]/info.php จะได้ผลลัพธ์ตามภาพ

แค่นี้ก็เสร็จแล้ว ใช้เวลาติดตั้งจริงๆ แค่ 20 กว่านาทีเอง ตามภาพเลย ไม่ยากเลยใช่ไหม
เราสามารถยำ VPS ตัวนี้ได้เต็มที่เลย เขาให้เวลาเรา สามชั่วโมง ถ้าหากติดใจอยากเล่นต่อ ก็จ่ายเดือนละ 5USD หรือชั่วโมงละ 0.007USD ถ้าหากคิดเป็นชั่วโมง เราสามารถหยุด VPS ได้ตลอดเวลา ซึ่งระบบจะไม่คิดเงินเราตอนที่ VPS ไม่ทำงาน อันนี้ก็แล้วแต่จะเลือกเอาละกันครับว่าจะใช้งานแบบไหน

สำหรับเพจเกจล่างสุดสำหรับ VPS ตัวนี้ อาจจะไม่เหมาะเอาไปใช้งานเป็น Web Server อย่างจริงจัง ถ้าเอาแค่ทดลองเว็บหรือทำโปรเจคส่งสำหรับงาน JSP, Rail, Python ที่หาเช่ายากเหลือเกิน ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย เราสามารถหยุดเช่าเมื่อไหร่ก็ได้ตามใจเรา
แต่งานที่เหมาะที่สุดสำหรับ VPS ตัวนี้ตามความคิดของผมเอง น่าจะเอาไปใช้เป็น VPN ดีกว่า แรมแค่ 256MB มันเหลือเฟืออยู่แล้ว ถ้าหากใช้กันไม่กี่คน เราก็จะได้ทางออกไปยังเว็บที่โดน ICT บล็อกเอาไว้ได้ เยี่ยมเลยใช่ไหมละ ตัว pptp มีมาใน linux อยู่แล้ว ตั้งค่านิดหน่อยก็เสร็จละ

เขียนกันอย่างรวดเร็วแค่ 3 ชั่วโมงเท่านั้น ขาดตกบกพร่องยังไงก็แนะนำกันมาได้นะครับ

ปล. ถ้าอยากใช้งานเป็น Web Server จริงๆ แล้วจะใช้งานยาวๆ เลย ติดตั้ง nginx + fastcgi เผื่ออนาคตจะได้รับคนได้เยอะขึ้น

ปล2. เดือนละ 5USD แถมปิดแล้วไม่คิดตังด้วย ได้เครื่องลอง module แหละ คริกๆ

Comments

จำนวนความเห็น