ผมได้ Raspberry Pi 2 model B (ขอเรียกว่า RPi ละกัน) มาฟรีๆ ตัวหนึ่ง ผมเคยได้ยินมาว่า เจ้า RPi ตัวนี้สามารถทำงานได้เยอะแยะมากมาย เช่นเป็นคอมพิวเตอร์ราคาถูก เอามาทำ media server หรือต่อกับ hardware ตัวอื่นๆ เป็น micro controller เลยก็มี

RPi นั้นมีส่วนประกอบที่แทบจะเป็นคอมพิวเตอร์ที่สมบูรณ์เลย ตัว RPi 2 ที่ผมได้มา เป็น System On Chip (SoC) ของ Broadcom BCM2836 ข้างในมี CPU ARM A7, GPU VideoCore IV, Ram 1GiB (แชร์กับ GPU), USB 1 port (แต่บน RPi 2 มี USB Hub ขยายเป็น 4 port ให้), HDMI เอาไว้ต่อจอ ขาดแค่ storage เท่านั้น ซึ่ง RPi 2 ก็มีช่อง micro sd เอาไว้ให้อยู่แล้ว การที่คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ ก็ต้องมี OS เป็นตัวจัดการ การที่ไม่มี storage ในตัว ผมว่าเป็นข้อดีซะอีก เราสามารถเปลี่ยน OS หรือเตรียม OS ที่มีหลาย configuration ไว้ทำหรับงานต่างๆ ใน sd แต่ละอัน ถ้าต้องการใช้งานอันไหน ก็แค่ถอด sd ตัวเก่าออก แล้วเอาตัวใหม่ใส่เข้าไป แถมราคา sd ก็ถูกมากๆ


OS หลักของ RPi คือ Raspbian (น่าจะมาจากคำว่า Raspberry + Debian) โหลดได้จาก https://www.raspberrypi.org/downloads/ นอกจากนั้นยังมี OS เจ้าอื่นๆ ให้เลือกลงอีก แต่ผมยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับ RPi เลย ก็เริ่มจาก Raspbian ก่อนละกัน

ไฟล์ที่โหลดมาได้จะมีนามสกุล img ก่อนจะนำไปใช้งาน ต้องทำการเขียนข้อมูลลงใน sd เสียก่อน โปรแกรมที่ใช้สำหรับ windows คือ Win32Disk Imager ถ้าเป็น mac ก็ใช้ ApplePi-Baker แทน

เสียบ sd เข้ากับคอมพิวเตอร์ sd ต้องมีขนาด 4GB ขึ้นไป แล้วเปิดโปรแกรม Win32 Disk Imager เลือกไฟล์ Raspbian

เลือก drive ของ sd ปกติถ้าเสียบ sd อันเดียว โปรแกรมจะเลือกให้อยู่แล้ว

กด Write แล้วรอสัก 5 นาที แนะนำให้ใช้ sd class 10 เพื่อความเร็วในการอ่านเขียน ราคา sd 8GB class 10 กับ class 4 ราคาต่างกันแค่หลักสิบ ถ้ามีอยู่แล้ว ใช้อันไหนก็ได้ แต่ถ้าซื้อใหม่ class 10 เท่านั้น

หลังจากเขียนไฟล์ลง sd เสร็จแล้ว ต่อจอ mouse กับ keyboard แล้วเสียบ sd เข้าไปที่ช่องด้านหลังบอร์ด RPi จากนั้นเสียสายไฟเข้าทาง micro usb


เรียบร้อย…

พอบูทเสร็จจะเข้าไปหน้า Raspberry Pi Software Configuration Tool ให้เลือก ข้อ 1.Expand Filesystem



sd อันนี้จะใช้ได้เต็มขนาด หลังจากการบูทครั้งต่อไป

ถ้าต้องการภาษาไทย ให้เลือกเมนู 4.Internationalisation Options

เลือก Change Locale

เลือก th_TH.UTF-8 UTF8

เลือก Finish

หลังจากบูทระบบใหม่ จะเข้ามาหน้า login ของ RPi ที่เหมือนๆ กับ linux ตัวอื่นๆ

login คือ pi
password คือ raspberry

ถ้าต้องการใช้งาน X Windows ทำได้โดยพิมพ์คำสั่ง startx

CPU ของ RPi มันช้ามากๆ ถ้าเทียบกับ PC ก็อย่าตั้งความหวังว่ามันจะลื่นเหมือน linux บน PC มันแค่พอใช้งานได้เท่านั้นแหละ

Raspbian มันก็คือ linux ที่ดัดแปลงมาให้ทำงานบน RPi ในการใช้งานจริง เราคงไม่ต่อ จอ mouse กับ keyboard ให้รกแน่นอน แค่ต่อสายแลนกับสายไฟสองเส้น แล้วใช้โปรแกรม putty ก็เข้าไปใช้งานได้เหมือนกัน

เปิดโปรแกรม putty แล้วใส่ ip ของ RPi ขั้นตอนการกำหนด ip ถ้าไม่ทำการ fixed ip ที่ RPi สามารถไปทำที่ router ได้ โดยกำหนด ip ผูกติดกับ mac address เลย

login คือ pi
password คือ raspberry

เท่านี้ก็ใช้งานได้แล้ว